วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จุดเด่นของวัดบางใบไม้



วัดบางใบไม้ เป็นวัดที่ประดิษฐานรูปปั้นหลวงพ่อข้าวสุก ที่มีผู้นับถือ
และจะมีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและอนุรักษ์โดยชุมชนบางใบไม้ เช่น 


กลุ่มผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว สวนลุงสงค์


แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (การทำน้ำส้มจาก) 


ล่องเรือชมบ้านโบราณ 200 ปี


วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติวัดบางใบไม้

       

     เหลือท่านหนึ่งขุนประจันศึกประชิดไม่ยอมพลีชีวิตกลางสมรพาไพร่พลลงเรือรีบหนีจรจากนครมาหยุดอยู่ในคลองบางช่วยกันสร้างที่อยู่เป็นอู่นอนเรียงสลอนเป็นตัวเรือนเหมือนกันหมดมีกำหนดทรงไทยใสอร่ามคนให้นามหมู่บ้านใหญ่อยู่ในบาง

       ขุนประจันศึกประชิดคิดสร้างวัดเพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายในใจตนเคนฆ่าคนล้มตายเป็นหลายพันล้างบาปนั้นให้สิ้นผลกุศลกรรมจึงอุทิศเงินทองที่มีอยู่ขอสร้างวัดเป็นคู่พระศาสนาชื่อวัดพุทธชีที่มีมาเป็นเวลาเกือบร้อยปีแสนดีใจ ทั้งกุฏิโรงธรรมและโรงฉัน หอกลอง หอระฆัง สง่าศรี สมเป็นวัดพุทธชีมีศรีศักดิ์เพื่อเป็นหลักของคนดีที่
ในบาง









    สี่สิบเก้าปีผ่านไปหลังสร้างวัดเกิดวิบัติโรคอหิวาต์เข้าในบางคนตายร้างเกือบหมกสิ้นถิ่นพุทธชีต่างคนหนีความตายไม่กลับมาเป็นเวลาสองปีที่หนีไป ศพที่ตายเอาทิ้งไว้ที่ในวัด ถ้าจะนับเป็นร้อยไม่ถอยหลังจนกระทั้งเต็มทั้งวัดวิบัติเป็นมีกลิ่นเหม็นไปทั่วหน้ากลัวจริงบางรายศพห่อผ้าขาวเอามาทิ้งริมตลิ่งแล้วหนีไปนึกใจหายบางรายห่อด้วยเสื่อมัดหัวท้ายเอาทิ้งไว้ตรงกลางวัดทับซ้อนกันบางรายทำแคร่ไม้ไผ่ทุกเรือมาฝังริมท่าแล้วหนีไปเพราะกลัวผีริมนทีวรนุชจระเข้ได้กลิ่นศพอพยพหนีกันมาพาขุดกินจนหมดสิ้นทั้งตัวไม่กลัวใครสุนัขขาหมาก็ชุมเสียงเห่าหอนชั่วคืนนอนเสียงโหยหวนครวญอาลัยพระหนีไปจนหมดสิ้นถิ่นพุทธชีเป็นวัดร้างห่างเหินเหมือนป่าช้าไม่มีใครผ่านมาสักคนเดียวแสนเปล่าเปลี่ยววัดภูตผีไม่มีคนสัปดนยังเรียกว่าวัดภูชี คือ ผีชัดคนถนัดเรียกอย่างนี้จึงเพี้ยนไปเรียกใหม่วัดพุทธชีเท่านี้พอ







    สองปีผ่านไปใจเป็นทุกข์หมดความสุขทุกอย่างที่ผ่านมาถึงเวลาหลวงพ่อขำผู้นำวัดรีบกำจัดสิ่งไม่ดีที่มีมาชวนญาติหาไม้ฝืนมาปลงศพกิจกำหนดทำบุญกุศลให้ล้างกระดูกผูกพันอันตรายให้สลายหมดสิ้นถิ่นพุทธชีก็พอดีถึงสมัยกำนันกลิ่น น้ำเพชรคิดสำเร็จสร้างวัดกันเสียใหม่ทำอย่างไรให้หลวงพ่อขำผู้นำวัดเป็นผู้จัดหาที่มีศรีศักดิ์ได้ตั้งหลักข้างในจึงเป็นวัดเรียกถนัดว่าวัดในตั้งแต่นั้นมาชาวประชาเรียกวัดเดิมว่า วัดนอก จึงขอบอกให้ได้รู้ที่ผ่านมา





       
    หลวงพ่อขำเป็นผู้นำได้สร้างวัดกำนันกลิ่นชี้ชัดช่วยส่งเสริมได้เร่งหางบประมาณมาสานเติมชาวบ้านเพิ่มทรัพย์สินโมทนาสาธุการจนเสร็จงานเสร็จการทุกสิ่งสรรค์มีทั้งโบสถ์หลวงพ่อเหมเปรมปรีดา 
พ่อท่านข้าวสุกแสนศรัทธาทั่วหน้ากัน ทั้งโรงฉัน โรงธรรม กุฏิมีจนครบขอนอมนพโมทนาสาธุการคนเรียกขานชื่อวัดในแต่นั้นมา

      เล่าย้อนหลัง ในบางที่ตั้งวัดแต่เดิมชื่อบางจาก ต่อมาในปี ร.ศ. 116 พ.ศ. 2433 ได้มีพระราชกฤษีกาจัดตั้งหมู่บ้าน และมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 9 ว่าด้วยการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจากกฎหมายทั้งสามฉบับมีผลทำให้บางจากเปลี่ยนชื่อเป็น “บางใบไม้” ชื่อวัดจึงเปลี่ยนตามไปด้วยเป็น “วัดบางใบไม้” 
                พอจะแยกความหมายได้ดังนี้
                  วัด  = วัดความดีงาม
                  บาง = หมู่บ้าน
                  ใบ   = ความร่มเย็นเป็นสุข
                  ไม้   = ความอุดมสมบูรณ์

หมายถึง หมู่บ้านคนดี ร่มเย็นเป็นสุขอุดมสมบูรณ์
ผู้ตั้งชื่อนี้ คือ นายกลิ่น น้ำเพชร ผู้ใหญ่บ้านคนแรกและได้เป็นกำนันคนแรกได้รับพระราชทินนามเป็น หมื่นโภชนากร น้ำเพชร สมัยเป็นพระภิกษุสอบได้นักธรรมเอกและได้เป็นครูสอนนักธรรมวัดธรรมบูชา เมื่อเป็นกำนันได้ปกครองท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางใบไม้ อำเภอบ้านดอนจังหวัดสุราษฏร์ธานีและได้รับพระราชทานหนังสือกฎหมายตราสามวงจากกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมัยมาตรวจราชการภาคใต้เพื่อใช้พิจารณาคดีโทษที่ยอมความกันได้ส่วนคดีโทษที่ยอมความกันไม่ได้ก็ส่งให้ทางการพิจารณาโทษตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติหลวงพ่อเข้าสุก

      


       เรื่องราวของหลวงพ่อข้าวสุข (ข้าวสุก) มีผู้เล่าติดต่อกันมาเป็นเวลานานพอสมควร พอจะสรุปเรื่องราวที่ผ่านมาได้บ้างดังนี้
       หลวงพ่อข้าวสุข (สุก) น่าจะสร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราช 2366-68 หลังจากที่ได้สร้างวัดเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว และโรคอหิวาต์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ผู้คนยังหวาดกลัว ไม่กล้ามาอยู่ในบางอีก หลวงพ่อขำจึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งขึ้นมาเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจ เพราะสมัยนั้นชางบ้านเชื่อกันว่ามีห่ามาเอาวิญญาณ ทำให้ผู้คนล้มตายจึงได้เรียกว่า โรคห่า หรือไข้ห่า
       พระพุทธรูปองค์นี้ มีพุทธลักษณะ ปางนั่งสมาธิ มีฉายาของท่านว่า หลวงพ่อข้าวสุข (สุก)
เพราะมีส่วนผสมของข้าวสุกอยู่ด้วย ได้ทำพิธีปลุกเสกคาถาอาคมในโบสถ์วัดบางใบไม้ โดยเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางไสยศาสตร์หลายองค์เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน คืนสุดท้ายคือคืนที่ 9 เวลาเที่ยงคืน ได้ยินเสียงร้องนอกอุโบสถดังทั่วไปหมด สุนัขเห่าหอนเสียงค่อย ๆ เงียบลง และคืนนั้น ห้ามพระเณรทุกรูปพร้อมเด็กวัดลงจากกุฏิจนกว่าจะสว่าง

       เมื่อสว่างจึงให้พระทุกรูปลงโบสถ์สวดยันต์โตรับขวัญ และเชิญไปประดิษฐานไว้ที่หน้าศาลเรือนไม่หลังเล็ก กุฏิเล็ก หน้าโบสถ์เก่าทางขวามือ อยู่เหนือเขตพัฒนาศรีมาทางที่จะไปเมรุเผาศพ ศพทุกศพก่อนถึงเมรุจะต้องผ่านหน้าศาลาหลวงพ่อข้าวสุข(ข้าวสุก)และหยุดคาราวะก่อนจะไป เขตหน้าศาลาที่ผ่านเรียกว่า “ลอดโขนทวาร” หมายถึง ประตูระหว่างโลกมนุษย์กับประตูยมโลก เมื่อผ่านเขตประตูนี้ ภูตผีปีศาจวิญญาณของผู้ตายจะไปสู่ยมโลกหมด จะไม่มายุ่งเกี่ยวกับโลกมนุษย์อีกต่อไป ไข้ห่าก็จะหายหมดไปไข้ห่าก็จะหายไปหมด และตั้งแต่วันนั้นจะไม่มีไข้ห่าในบางใบไม้อีกเลย (เป็นความเชื่อถือในยุคสมัยนั้น)
       ผู้เล่า หมื่นโภคากร กำนันตำบลบางขยะ ชื่อจริงของท่านชื่อแดง ท่านบอกเล่าต่อไปว่า ท่านเคยเป็นเด็กวัดบางใบไม้ในสมัยนั้น และได้ร่ำเรียนหนังสือกับพระจนอ่านออกเขียนได้ และได้เรียนพิธีกรรมกับหลวงพ่อขำ ท่านมีความรู้ทางพิธีกรรมกับหลวงพ่อขำ ท่านมีความรู้ทางพิธีกรรมมากมายและเป็นหมอแผนโบราณอีกด้วย ท่านได้ถึงแก่กรรมไปหลายปีแล้ว ถ้าจะนับอายุของท่านถึงปัจจุบันคงไม่ต่ำกว่า 135 ปีท่านชอบเล่าเรื่องในอดีตให้พรรคพวกได้ฟังกันอยู่เสมอข้าพเจ้าจึงได้จดจำเอามาเขียนให้ลูกหลานได้อ่านได้รู้ไม่มากก็น้อย จงพิจารณาดูไม่ได้เขียนขึ้นมาเองอย่างเลื่อนลอย
       และท่านได้เล่าต่อไปอีกว่า หลวงพ่อข้าวสุข(ข้าวสุก) สร้างจากสิ่งมงคลเก้าอย่างพอจะจำได้ลางๆ ดังนี้ แกนกลางทำด้วยแผ่นไม้เล็กๆ ลงอักขระอาคมเป็นภาษาขอมส่วนผสมองค์พระประกอบด้วย
   1. ผงพระพุทธรูปที่ได้จากพระกรุสำคัญในประเทศไทย 9 แห่ง
   2. ดินใต้บริเวณพระเจดีย์มหาธาตุ วัดสำคัญศักดิ์สิทธิ์ 9 แห่ง
   3. ข้าวสุกจากบาตรพระตอนเช้า เก้าก้อน เสกคาถาลงอาคมตากแห้งบดละเอียด
   4. ผงสมุนไพรที่ใช้ในการทำยาให้อยู่ยงคงกะพัน จำนวน 9 ชนิด
   5. หินทรายแดงจากเกาะปราบจำนวน 9 ก้อน บดละเอียดลงคาถาอาคม(สมัยก่อนเรียกว่า เกาะพยาปราบ เป็นที่ลับอาวุธ ดาบ หอก ในการทำศึกสงคราม)
   6. หินทรายแดงจำนวน 9 ก้อน บนยอดเขาพระแก้ว บทละเอียดลงคาถาอาคม(โบราณถือว่า พระพุทธองค์ เมื่อดับขัณฑ์ปรินิพานแล้วได้มาสำแดงอภินิหารเป็นดวงไฟโชติช่วงบนภูเขาแห่งนี้ให้ประจักร จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่าเขาแก้ว ส่วนน้ำที่ไหลจากยอดเขามาขังเป็นสระอยู่ข้างล่าง จึงถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้ในราชประเพณีมาแต่เดิม)
   7. น้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธ์ (ต้นน้ำ) 9 แห่ง ที่ใช้ในราชประเพณี ราชวงศ์จักรี จำได้ 3 แห่ง น้ำในวัดเขาแก้ว น้ำในสระวัดมหาธาตุไชยา น้ำในแม่น้ำเพรชบุรี
ส่วน ข้อ 8 กับ ข้อ 9 จำไม่ได้ จะผิดหรือถูกก็ขอให้ผู้อ่านพิจารณาดู เพราะได้ฟังมานานแล้ว อาจจะผิดหรือถูกก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น แต่จะให้ถูกต้องจริงๆก็ต้องพิสูจน์ทางวิยาศาสตร์เท่านั้น

                  ความหมายของหลวงพ่อข้าวสุข
                       เป็นปริศนาธรรม

    หลวงพ่อข้าวสุข เป็นสำนวนภาคกลาง
    พ่อหลวงข้าวสุข เป็นสำนวนภาคใต้
    พ่อท่าน คือ คุณพ่อที่บวชเป็นพระ
    ข้าว คือ อู่ข้าว อู่น้ำ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ในสวนมีมะพร้าวความอุดมสมบูรณ์ ความร่ำรวย เงินมองจะไหลนองกองมา
    สุข สุขะ สุโข เปลี่ยน สระอะเป็นสระโอ
    สุโข ความสุข ความสบาย อยู่เย็นเป็นสุข หมดจากความทุกข์ยาก ทั้งหลายทั้งปวง หมด จากโรคภัยไข้เจ็บ หมดจากศัตรูที่ปองร้าย ผู้ที่ถูกเวทมนต์คาถาอาคม ก็จะเสื่อมสลายไปหมดสิ้น ผู้ที่เจ็บป่วยก็จะหายสบายเป็นปกติ ผู้ที่ยากจนจะร่ำรวยขึ้น โชคลาภก็จะไหลมาเทมา
ปริศนาธรรมอันนี้หลวงพ่อได้สร้างไว้ให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง ชาวบางใบไม้ให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดเวลาอันยาวนาน เป็นพระคู่บุญมาตลอด ในความหมายนี้ข้าวสุขจึงไม่สะกดด้วยตัว ก.ไก่ แต่สะกดด้วยตัว ข.ไข่ จึงจะตรงกับความหมาย

ประวัติหลวงพ่อขำ

       ประวัติหลวงพ่อขำ จริง ๆ ยังหาไม่พบ เพราะเวลาผ่านไปเกือบสองร้อยปีแล้ว จะหาหลักฐานจากคนรุ่นร่วมสมัยเดียวกันคงยาก เหลือแต่คำบอกเล่าเก่า ๆ เท่านั้น ส่วนรูปของท่านจริง ๆ ก็หาไม่ได้ บังเอิญได้พบในงานมงคลของผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เวลาผ่านมา 80 ปีกว่าแล้วจึงขอมาถ่ายทำใหม่ แต่รูปเหลือเพียงซีกเดียวเท่านั้น ตอนนั้นท่านอายุในราว 78-80 ปีแล้ว บวกกับเวลาที่อยู่ในรูปอีก 80 ปี ก็คงนานพอดู


       ทราบแต่เพียงว่าท่านมีวิชาอาคมแก่กล้าและได้เดินทางไปธุดงค์หาความวิเวกมาหลายต่อหลายแห่ง ครั้งสุดท้ายได้มีผู้นิมนต์ให้ท่านมาจำพรรษาที่วัดพุทธชี หรือวัดโพธิ์ชี ต่อมาเกิดโรค อหิวาต์ระบาด ท่านจึงย้ายวัดมาอยู่ข้างใน จึงเป็นวัดบางใบไม้ ในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ถือว่าท่านเป็นผู้สร้างวัดบางใบไม้หรือเรียกว่า เป็นบิดาของวัดบางใบไม้ก็ไม่ผิด
       เมื่อหลวงพ่อท่านดับ ชาวบางใบไม้จึงได้พร้อมใจกัน สร้างเจดีย์เป็นอนุสาวรีย์ ไว้หน้าอุโบสถและต่อมาได้ทรุดโทรมลงมาก ครอบครัวนายเสริม น้ำเพชร ได้บูรณะขึ้นมาใหม่ จึงขออนุโมทนาสาธุการในความดีครั้งนี้ด้วย


ความสุข


ทำงานเพื่องาน


บาปใหญ่ - บาปลึก


สติปัญญา


วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

มงคลหมู่ที่ 1

มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกตนเองให้เป็นคนดี
         การที่เราจะพันาตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าจำเป็นต้องฝึกตนเองให้เป็นคนดี เพราะการพันาตนเองมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ การเริ่มต้นพันาจิตใจด้วย การสร้างความคิดเห็นที่ถูกต้อง ด้วยการปลูกฝังวินิจฉัยที่ดีให้กับใจ ให้สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิดอะไรควร อะไรไม่ควรแล้วเลือกที่จะคิด พูด และกระทำ แต่สิ่งที่ดีเพราะจากวินิจฉัยของคนเรานี้จะแสดงออกให้เห็นทางวาจา และการ กระทำ  การย้ำคิดย้ำทำบ่อยๆ จะก่อให้เกิดนิสัยประจำตัว ซึ่งนิสัยของคนเราที่เป็นต้นแหล่งของวินิจฉัยได้มาจากสิ่งแวดล้อม คนรอบตัว เราคบกับคนอย่างไรบูชายกย่องใครเราก็จะค่อยๆ มีนิสัยไปตามเขา เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการฝึกตนเองให้เป็นคนดีจึงต้องปฏิบัติตามมงคล ดังนี้



        1. ไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใดๆ กับคนพาล เป็นการป้องกันไม่ให้นิสัยไม่ดีความเห็นผิดๆ ทั้งหลายจากคนพาลมาติดต่อเราเข้า ป้องกันไม่ให้ถูก คนพาลกลั่นแกล้งทำร้ายเอาและมีหลักปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันที่ห่างไกลจากคนพาล





        2. คบบัณฑิต คือการเข้าไปมีพฤติกรรมใดๆร่วมกับบัณฑิต เพื่อถ่ายทอดเอานิสัยดีๆ ความเห็นที่ถูกต้องดีงาม เพิ่มพูนคุณธรรมต่างๆ มาสู่ตัวเรา และทำให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา




        ​3. บูชาบุคคลที่ควรบูชา คือการแสดงออกถึงความเคารพ และตระหนักในคุณธรรมผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า เพื่อประคับประคองนิสัยที่ดีสร้างความคิดเห็นที่ถูกต้องในตัวให้เจริญงอกงามขึ้นบุคคลที่ควรบูชาจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้เราดู และปฏิบัติตาม เป็นหลักใจของเรา ทำให้เกิดสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ เป็นผู้ไม่ประมาทสามารถฝึกตนให้เป็นคนดีได้

มงคลหมู่ที่ 2

มงคลหมู่ที่ 2 สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง
      เมื่อเราเริ่มต้นฝึกตนให้เป็นคนดี ด้วยการมีมาตรฐานความคิดเห็นที่ถูกต้องมีต้นแบบทางความคิดคำพูด และการกระทำที่ทำให้สามารถถ่ายทอดและพันาคุณธรรมความดีให้เจริญขึ้นแล้ว ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมสร้างความพร้อมในการฝึกตนเองสามารถทำความดีได้อย่างสะดวก เพื่อจะได้ปรับปรุงตนเองได้อย่างดียิ่งขึ้น เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เรามี ความกระตือรือร้นและเป็นปัจจัยสำคัญที่จะ  สนับสนุนให้เราสามารถฝึกตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นประสบความสำเร็จทั้งชาตินี้ชาติหน้าจนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานเพราะฉะนั้นคนที่จะฝึกตัวเองได้ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้




​     4. อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม หมายถึง การอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ได้ที่สิ่งแวดล้อมดี ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่สุขภาพกายและใจ ยิ่งกว่านั้น ยังสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยสามารถประกอบ กิจการงานในหน้าที่อันเป็นสัมมาอาชีพ ให้เจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย และสามารถสร้างสมคุณงามความดีได้เต็มที่ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ อาวาส เป็นที่สบาย อาหารเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย และธรรมะเป็นที่สบาย อยู่ในถิ่นที่เหมาะสมนี้ ทำให้รอบ ๆ ตัวมีแต่คนดี เราก็มีโอกาสเป็นคนดี ถ่ายทอดคุณธรรมจากท่านได้สะดวก จะหาความรู้จะฝึกฝีมือ จะฝึกวินัย ฝึกพูด ก็หาคน อนได้ง่าย ยังเอื้ออำนวยให้สั่ง มความดีเพื่อประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาติหน้า

               

​    5. มีบุญวาสนามาก่อน คือสร้างบุญมาดี ทั้งบุญเก่า บุญใหม่ มีความคุ้นในการสั่งสมบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่างไม่ขาดตอนบุญเก่าที่ทำมาในอดีตชาติ ก็ทำให้เป็นคนมีร่างกายแข็งแรงสติปัญญาเฉลียวฉลาด ไหวพริบปฏิภาณไว อารมณ์แจ่มใสเบิกบาน มีบุญคอยส่งอยู่  จะร่ำเรียนเขียนอ่าน ทำการงานอะไรก็ก้าวหน้าได้เร็วกว่าคนอื่น  บุญใหม่ที่ทำในชาตินี้การตั้งใจขยันหมั่นเพียร หมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จะคอยช่วยหนุนอีกชั้นหนึ่ง ยิ่งถ้าใครบุญเก่าก็ดี   บุญใหม่ก็ขวนขวายทำ ยิ่งก้าวหน้าได้เร็วเป็นทวีคูณสามารถฝึก   ตัวเองได้ง่าย
            


​   6. ตั้งตนชอบ คือมีเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้องทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง และเป้าหมายสูงสุดไม่เป็นคนโลเล ดำเนินชีวิตไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย รู้ว่าควรจะฝึกฝนความสามารถและคุณธรรมอะไรเพื่อให้มุ่งหน้าสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ย่อมมีความกระตือรือร้นทุ่มเทพลังความสามารถของตน เพื่อฝึกตนเองให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างเต็มที่ ทำให้เป็นผู้มีความพร้อมในการฝึกตัวเองสูง

มงคลหมู่ที่ 3

มงคลหมู่ที่ 3 ฝึกตนเองให้เป็นคนมีประโยชน์      
         เมื่อเราได้ผ่านขั้นตอนการพัฒนาตนเองในขั้นต้น ด้วยการฝึกตนให้เป็นคนดี โดยการไม่คบคนพาลคบบัณฑิต บูชาบุคคลที่ควรบูชา และในขั้นถัดมาด้วยการสร้างความพร้อมในการฝึกตน โดยอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม มีบุญวาสนามาก่อน และตั้งตนชอบ ก็มาถึงการพัฒนาตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ด้วยการฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์ คือจะต้องฝึกตนเองให้เป็นคนมีความสามารถรอบตัวเป็นคนที่พึ่งตนเองได้ นำความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ในทางที่ถูกต้องสามารถควบคุมตนเองสามารถสร้างประโยชน์ให้กับตนเอง และสังคมได้อย่างเต็มที่  ผู้ที่สามารถฝึกได้ในขั้นนี้ต้องมีคุณสมบัติสำคัญ ดังนี้

           
     7. เป็นพหูสูต หมายถึง เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ คือเป็นผู้ฉลาดรู้เรียนรู้หลักวิชารู้จักเลือกเรียนในสิ่งที่ควรรู้ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก ได้ยินได้ฟังได้อ่านมามาก ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นต้นทางแห่งปัญญา ทำให้เกิดความรู้สำหรับบริหารงานชีวิต และเป็นกุญแจไขไปสู่ ลาภ ยศ สรรเสริญสุข และทุกสิ่งที่เราปรารถนา
          
     8. มีศิลปะ แปลว่า ผู้มีการแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงาม ประณีต ละเอียดอ่อน น่าพึงชมหมายถึง ผู้ฉลาดทำ คือทำเป็นนั่นเอง เป็นความสามารถในทางปฏิบัติ คือสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ให้บังเกิดผลได้สามารถทำการงานได้สำเร็จ
            
     9. มีวินัย หมายถึง เป็นผู้ประพฤติอยู่ในระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ วินัยใช้สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา 

ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน  วินัยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลายวินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมคนให้คนเราใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร คือทำคนให้เป็นคนฉลาดใช้วินัยมี 2 ชนิด คือ วินัยทางโลก และวินัยทางธรรม ดังนั้น ผู้มีวินัยดี หมายถึง ผู้ที่รักษาวินัยทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างถูกต้องและเคร่งครัด

                
     10. มีวาจาสุภาษิต หมายถึง มีคำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้ว มีลักษณะที่พอเหมาะพอดีถูกกาลเทศะ เป็นคุณแก่ตัวผู้พูดและผู้ฟัง เป็นวาจาชั้นสูง ก่อให้เกิดความสมัคร สมานสามัคคีควรแก่การสรรเสริญของบัณฑิต เราจึงต้องฝึกตัวเองให้มีวาจาสุภาษิต รู้จักควบคุมวาจา พูดเป็น คือเป็น ผู้ฉลาดพูด

มงคลหมู่ที่ 4

มงคลหมู่ที่ 4 บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว
      ผู้ที่ผ่านการฝึกตนให้เป็นคนดี มีปัจจัยแวดล้อมพร้อม และมีคุณสมบัติความสามารถเป็นที่พึ่งให้ตนเองได้แล้ว การพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะต้องเป็นผู้ที่รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อคนใกล้ตัวต้องเป็นผู้ที่มีครอบครัวดี มีฐานะมั่นคง มีความสุข ต้องฝึกตัวดังนี้

    11. บำรุงบิดามารดา เป็นผู้มีความกตัญูรู้คุณพ่อแม่ ตอบแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านเลี้ยงดูปรนนิบัติท่านให้ได้รับความสุขความสบายขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และบำเพ็ญกุศลให้เมื่อท่านละโลกไปแล้ว เพราะท่านเป็นต้นแบบของเราทั้งทางกาย ด้วยการให้กำเนิดมาเป็นมนุษย์ และทางใจด้วยการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม และการบำรุงบิดามารดา ยังเป็นการประพฤติตนให้เป็นต้นแบบแก่อนุชนที่ตามมาภายหลัง


                    

    12. เลี้ยงดูบุตร เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องจัดให้สมบูรณ์พร้อมทั้งทางโลก และทางธรรม เพื่อให้บุตรเป็นคนเก่ง และคนดีมีคุณธรรม เราต้องเป็นต้นแบบที่ดีของลูก ต้องรู้จักวิธีเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี เป็นลูกแก้วนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่พ่อแม่ วงศ์ตระกูล

                
    13.สงเคราะห์ภรรยา(สามี) เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ของคน ในครอบครัวให้อบอุ่นแน่นแฟ้นครอบครัวจะมีแต่ความร่มเย็นสามีภรรยาจะต้องรู้จักวิธีปฏิบัติตัวต่อกันมีความเกรงอกเกรงใจ เคารพให้เกียรติกัน ไม่นอกใจกัน รู้จักแบ่งปันกัน เป็นผู้มีความเสมอกันด้วยศีลธรรม นำพาสันติสุขสู่ครอบครัวครองคู่กันไปตราบสิ้นอายุขัย


             
    14. ทำงานไม่คั่งค้าง ครอบครัวก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ เลี้ยงลูก เลี้ยงภรรยาล้วนต้องใช้ปัจจัยเราจึงมีหน้าที่ก่อร่างสร้างตัวด้วยการทำงานไม่คั่งค้าง รู้จักบริหารงาน ต้องทำให้เสร็จทำให้สำเร็จ จะได้สร้างฐานะความเป็นปึกแผ่นแก่ตนเองและครอบครัว

มงคลหมู่ที่ 5

มงคลหมู่ที่ 5 บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

       เมื่อเราสร้างครอบครัวให้มีความสุข มีความอบอุ่น มีฐานะมั่นคงเป็นปึกแผ่นแล้ว การพัฒนาตนเองขั้นต่อไปของเรา เพื่อเป็นการขยายความสามารถในการทำความดีออกไป ให้กว้างขวางเราทุกคนยังมีหน้าที่เป็นกำลังสำคัญในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมช่วยเหลือส่วนรวม ให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุขโดยมีหลักปฏิบัติดังนี้



       15. บำเพ็ญทาน คือการให้ รู้จักสละทรัพย์สิ่งของที่เหมาะสมของตนแก่ผู้ที่สมควรได้รับ เป็นการกำจัดความตระหนี่สร้างสมบุญกุศลทำให้ใจของเราสูงขึ้นและเป็นการสร้างสันติสุขแก่มวลมนุษยชาติ
                                           
                 
       16. ประพฤติธรรม คือการประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดีตามธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนพร้อมทั้งฝึกฝนอบรมตนตามหลักกุศลกรรมบถ 10 ให้มีคุณธรรมในตัวสูงขึ้นประณีตขึ้นตามลำดับสมกับที่เกิดเป็นมนุษย์ และให้มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง


                  
       17. สงเคราะห์ญาติ คือช่วยเหลือทั้งญาติสายโลหิตเดียวกัน ทั้งพี่ ป้า น้า อา ลุง หลาน ฯลฯ รวมทั้งผู้รู้จักคุ้นเคยกัน ญาติร่วมจังหวัด ญาติร่วมประเทศ ญาติร่วมโลก ซึ่งเราต้องมีหลักในการสงเคราะห์ โดยไม่ให้เสียศีลธรรมประจำใจของเรา การสงเคราะห์นี้เป็นการสร้างเสริมความสามัคคีความเป็นปึกแผ่นของสังคมให้เกิดขึ้น

               
             
       18. ทำงานไม่มีโทษ หมายถึงทำงานที่สุจริต ไม่มีเวรไม่มีภัย ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เบียดเบียนใคร รวมทั้งงานที่มีประโยชน์แก่ตนและต่อส่วนรวมเช่น งานสาธารณกุศลงานสาธารณประโยชน์และงานสังคมสงเคราะห์ต่างๆงานไม่มีโทษนี้เป็นงานที่ทำเพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมความดีของเราให้เจริญก้าวหน้า


มงคลหมู่ที่ 6

มงคลหมู่ที่ 6 ปรับเตรียมภาพใจให้พร้อม
       จากมงคล 18 มงคลแรกเป็นเรื่องของการครองตนครองชีวิตโดยเฉพาะสำหรับมนุษย์ทุกคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ     ทุกศาสนารวมถึงสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรด้านธุรกิจสังคมการเมืองการปกครอง เป็นการปรับปรุงอย่างเป็นขั้นตอนให้มีความเจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จส่วน 20 มงคลหลัง    เป็นเรื่องของการพัฒนาตนเองให้สูงขึ้น เป็นเรื่องการฝึกพันาจิตใจ เพิ่มพูนคุณธรรมให้ยิ่งๆขึ้นไป จนกระทั่งหมดกิเล เป็นพระอรหันต์
        ในมงคลหมู่ที่ 6 การปรับเตรียม ภาพใจให้พร้อม เพื่อพันาตนเองให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นด้วยการฝึกใจให้มีคุณธรรมมากขึ้นมีกิเลสเบาบางลงตามลำดับขั้น เพื่อว่านอกจากจะสงเคราะห์ตนเองให้ดีขึ้นแล้ว เมื่อถึงคราวจะ งเคราะห์ญาติสงเคราะห์สังคม และสงเคราะห์โลก จะได้สงเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องฝึกดังนี้



        19. งดเว้นจากบาป หมายถึง การกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นความชั่ว ความร้ายกาจทำให้ใจเศร้าหมอง เสียคุณภาพอันดีไป ถ้าเคยทำอยู่ก็จะงดเสีย ที่ยังไม่เคยทำก็ละเว้นไม่ยอมทำโดยเด็ดขาดเพราะการกระทำนั้นเป็นบาป บาปนั้นจะมาหุ้มใจ ทำให้ใจเสียคุณภาพ รองรับธรรมะไม่ได้ ดังนั้นคนที่ยังทำบาปสารพัดอยู่ ไม่ยอมเลิก จึงไม่มีทางที่จะฝึกได้เลย คนที่จะงดเว้นบาปได้ต้องมีความละอายใจ และเกรงกลัวต่อโทษภัยที่เกิดจากการทำบาป

             
        20.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา หมายถึง การระมัดระวังเมื่อใช้สิ่งเสพย์ติดทั้งหลายในการรักษาโรคและเว้นขาดจากการเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษทุกชนิดไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม เพราะของมึนเมาเสพย์ติดทั้งหลายจะทำให้เราขาด ติ และใจที่ขาด ตินั้นก็ไม่สามารถฝึกคุณธรรมใดๆ ได้ เช่น ลองไปพูดธรรมะให้คนเมาเหล้าฟัง ว่าเขาจะรู้เรื่องหรือไม่

               
        21. ไม่ประมาทในธรรม หมายถึง ไม่ประมาทในเหตุ ให้มีสติรอบคอบกำกับอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิดจะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้นตั้งใจทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่ เพื่อให้คุณธรรมความดีดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา เพราะสรุปคำสอนในพระพุทธศาสนา คือสอนให้เราไม่ประมาท

        เนื่องจากผู้ที่ประมาทมักจะปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม คิดแต่ว่า ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร เรายังอายุน้อยอยู่ รอแก่ๆ ค่อยทำความดี หรือ ไม่เป็นไรหรอกน่า เรายังแข็งแรง ทำเมื่อไรก็ได้ หรือ ไม่เป็นไรหรอกน่าเรายังมีชีวิตอีกนาน ทำเมื่อไรก็ได้ เขาเหล่านี้เมาแล้วในความเป็นหนุ่มเป็นสาว ในความไม่มีโรค ในความคิดว่ายังไม่ตาย จึงไม่ยอมทำความดี

มงคลหมู่ที่ 7

มงคลหมู่ที่ 7 การแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว
      เมื่อเราเตรียมสภาพใจของเราไว้พร้อมด้วยการแก้ไขปรับปรุง ให้เป็นผู้ที่ไม่ข้องแวะกับสิ่งที่เป็นบาป สิ่งที่ทำลายสติสัมปชัญญะ และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น ไม่ปล่อยชีวิตให้ไปตามยถากรรมแล้วเมื่อถึงมงคลหมู่ที่ 7 ก็เริ่มลงมือแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัวทีเดียว เป็นคุณธรรมที่จำเป็นสำหรับบุคคลผู้ที่ต้องการพันาตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าทุกคน เพื่อนำมาปรับปรุงความประพฤติของตนให้สมบูรณ์ ผู้จะแสวงหาธรรมะใส่ตัวได้ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้



       22. ต้องมีความเคารพ หมายถึง มีความตระหนัก ซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่นยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยนอย่างเหมาะสม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง รู้ว่าจะเข้าไปหาคุณธรรมความดีได้จากใคร ทำให้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณความดีนั้นๆ จากผู้อื่นมาสู่ตนเอง ดังนั้น บุคคลที่มีความเคารพ จึงเป็นบุคคลที่มีปัญญา เพราะใจของเขาได้ยกสูงขึ้นพ้นจากความถือตัวต่างๆ เป็นใจที่เปิดกว้างพร้อมจะรองรับความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตน



      23. ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การเอามานะทิฏฐิออก มีความสงบเสงี่ยม เจียมตนไม่ทะนงตน ไม่มีความมานะถือตัวไม่อวดดื้อถือดี ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใครไม่กระด้างไม่เย่อหยิ่งจองหอง ดังนั้น คนที่มีความถ่อมตน จึงเป็นผู้ที่ปรารภตนเอง คอยตามพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง จับผิดตัวเองสามารถประเมินค่าของตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง มีจิตใจสูงสามารถน้อมตัวลง เพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นเข้าสู่ตนเองได้อย่างเต็มที่




        24. ต้องมีความสันโดษ เป็นคนรู้จักพอ รู้จักประมาณสุขใจพอใจกับของของตน ของสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดีและสมควรกับตน คนมีความสันโดษทำให้จิตใจ งบ เยือกเย็น ดำเนินชีวิตอย่างมีสติสามารถรองรับคุณธรรมจากผู้อื่นได้เต็มที่ สามารถฝึกตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นไปเพื่อความเจริญสุขทั้งแก่ตนเองครอบครัว และสังคมประเทศชาติ คนที่ขาดสันโดษ ใจของเขาจะเต็มไปด้วยความเร่าร้อนกระวนกระวายกระหายอยากได้ มีสิบล้านก็ไม่พอจะเอาร้อยล้าน มีร้อยล้านก็ไม่พอจะเอาพันล้าน หมื่นล้าน ไม่รู้จักอิ่ม ซึ่งใจของคนชนิดนี้ไม่สามารถจะรองรับคุณธรรมได้ ไปฟังพระเทศน์เท่าไรก็ไม่ซึมซับเข้าไปอยู่ในใจ ลืมตาหลับตาเขาก็มองเห็นแต่ตัวเลขคิดแต่ว่าอยากรวยๆ ธรรมะจึงนึกไม่ออก




        25. ต้องมีความกตัญูญู หมายถึง มีความตระหนักซาบซึ้งถึงบุญคุณ เป็นผู้มี ติใจใสกระจ่างมีติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการะของบุญทั้งหลายที่ช่วยให้ตนได้ดีมีสุขในปัจจุบัน และรู้อุปการคุณของผู้อื่นที่กระทำแล้วแก่ตน พยายามหาทางตอบแทน ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่านับถือ จนใครๆ ก็เมตตาถ่ายทอดความรู้ คุณธรรมความดีต่างๆให้ ในวงการต่างๆ ผู้ที่มีความกตัญูรู้คุณ จะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปแม้เราจะมีความเคารพ รู้ข้อดีของคนอื่นมีจุดมุ่งหมายแล้วว่าจะไปถ่ายทอดเอาคุณธรรมนั้นๆได้จากใคร มีความถ่อมตน  ใจเราก็พร้อมที่จะน้อมไปรับคุณธรรมนั้น และมีความสันโดษ คือใจก็ งบพอที่จะรับเอาธรรมะนั้นๆมาไตร่ตรองให้เข้าใจได้ แต่ก็ยังไม่แน่ว่าเขาจะยอม อนเราหรือไม่ เราต้องเป็นคนมีความกตัญูรู้คุณคนด้วย เป็นการรับประกันตนเองว่าจะไม่เนรคุณภายหลัง คนอื่นจึงจะเมตตา อนธรรมะให้เราทำให้เราสามารถพันาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้นไปได้




        26. ฟังธรรมตามกาล คือ การขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรม ฟังคำสั่ง อนจากผู้มีธรรมะในทุกโอกาสที่อำนวยให้เพื่อยกระดับจิตใจและ ติปัญญาให้สูงขึ้นโดยเมื่อฟังธรรมแล้ว ก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้นมาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มีคุณธรรมนั้นหรือไม่ มีข้อบกพร่องต้องแก้ไขตรงไหน จะพันาคุณธรรมให้เพิ่มพูนขึ้นได้อย่างไร จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร เพราะคนเรายังมีกิเลสอยู่ บางวันจิตใจผ่องใสเบิกบาน บางวันจิตใจหดหู่ เศร้าหมอง ยังไม่แน่นอน จึงต้องสำรวจปรับปรุงพันาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้าฝ่ายเดียว


มงคลหมู่ที่ 8

มงคลหมู่ที่ 8 การแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวให้เต็มที่     
     เมื่อเราฝึกใจจนได้คุณธรรมเบื้องต้น จากการมีความเคารพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสันโดษมีความกตัญญู จนได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากผู้มีคุณธรรมสูงกว่า จากการฟังธรรมตามกาลแล้ว เปรียบได้กับเรากำลังก้าวเดินอยู่ในระหว่างเส้นทางแห่งความสำเร็จ เพื่อให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายปลายทางจึงต้องฝึกพันาคุณธรรมให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป จำเป็นต้องฝึกใจให้มากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับคุณธรรมเหล่านี้ โดย



       27. มีความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนา มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหวความอดทนเป็นคุณธรรมพื้นฐานสำหรับต่อต้านความท้อถอย หดหู่ ก่อให้เกิดความขยัน จนชนะอุปสรรคต่างๆทำงานได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทั้งทางโลกและทางธรรม ขันติยังเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่รองรับการพัฒนาคุณธรรมต่างๆในโลก ดังนั้นบุคคลที่จะเอาธรรมะต้องทนได้




       28. เป็นคนว่าง่าย คือ เป็นผู้ที่อดทนต่อคำสั่งสอนได้ เมื่อมีผู้รู้แนะนำพร่ำสอนให้ ตักเตือนให้โดยชอบธรรมแล้ว ย่อมปฏิบัติตามคำสอนนั้น ด้วยความเคารพอ่อนน้อม ไม่คัดค้าน ไม่โต้ตอบ ไม่แก้ตัวโดยประการใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้สามารถรองรับการถ่ายทอดคุณธรรมมาฝึกตนได้มากเพราะผู้ที่เป็นคนดื้อ ว่ายากสอนยาก เปรียบเสมือนคนเป็นอัมพาต ถึงจะมีของดีๆ มาใกล้ตัวก็ไม่สามารถเอามาใช้ได้ คำสอนดีๆ คนดื้อก็ไม่รับ แสลงต่อคำสอน ทำให้คุณธรรมของตนไม่เจริญก้าวหน้า




       29. สมณะ แปลว่า ผู้สงบ หมายถึง บรรพชิตที่ได้บำเพ็ญสมณธรรม ฝึกฝนตนเองด้วยศีลสมาธิปัญญา มาแล้วอย่างเต็มที่ จนกระทั่งมีกาย วาจา ใจสงบแล้วจากบาปท่านเป็นต้นแบบตัวอย่างมาตรฐานความประพฤติของชาวโลก การเห็นสมณะเป็นการเห็นอันประเสริฐ จะก่อให้เกิดศรัทธา เกิดกำลังใจในการสร้างความดี   การประพฤติปฏิบัติธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป




       30. สนทนาธรรมตามกาล คือการพูดคุยซักถามธรรมะซึ่งกันและกัน ระหว่างคน 2 คนขึ้นไปมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญา เพื่อให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นอกุศลธรรมความชั่ว จะได้ละเว้นเสียสิ่งใดเป็นกุศลธรรมความดี จะได้ตั้งใจทำให้มาก โดยรู้จักเลือกและแบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้รับความเบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและได้รับบุญกุศลไปในตัวด้วย รวมทั้งสามารถแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวได้อย่างเต็มที่ เพื่อนำธรรมะนี้มากำจัดกิเลส ให้หมดสิ้นไป


มงคลหมู่ที่ 9

มงคลหมู่ที่ 9 การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลส ให้สิ้นไป      
     จากการปฏิบัติตามหลักมงคลตั้งแต่มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกตนเองให้เป็นคนดี ถึงมงคลหมู่ที่ 8 การแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวอย่างเต็มที่แล้ว เราจะพบว่าได้ขัดเกลาพฤติกรรมที่ไม่ดีไปได้หลายประการรวมทั้งได้ปรับปรุงปลูกฝังพฤติกรรมและคุณธรรมที่ดีๆ จากผู้มีคุณธรรมสูงใส่ในตนได้อย่างเต็มที่จนมีความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจเข้าใกล้เป้าหมายสูงสุดของชีวิต ในการพันาตนเองขั้นต่อไปเป็นก้าวที่สำคัญ ที่จะขัดเกลาอุปนิสัย พฤติกรรมที่ไม่ดีที่ยังคั่งค้างในใจให้หมดไป อย่างถอนรากถอนโคนด้วยการเริ่มปฏิบัติอย่างเข้มข้น ในมงคลหมู่ที่ 9 นี้จะเป็นการลงมือปฏิบัติฝึกฝนอย่างจริงจังเพื่อกำจัดกิเลส ให้หมดไปดังนี้



         31. บำเพ็ญตบะ หมายถึง การทำความเพียรเผาผลาญกิเลส ทุกชนิดให้ร้อนตัวจนทนอยู่ไม่ได้ เกาะใจเราไม่ติด ต้องเผ่นหนีไป แล้วใจของเราก็จะผ่องใสหมดทุกข์ ด้วยการประพฤติธุดงควัตร 13 ประการทำให้คุณธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นในตัว และเข้าถึงนิพพานได้เร็ว อุปมาเหมือนการถลุงแร่ ด้วยความร้อนจนเหลือแต่แร่ที่บริสุทธิ์เท่านั้น




       32. ประพฤติพรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติตนอย่างพระพรหม หรือความประพฤติอันประเสริฐหมายถึง การประพฤติตามคุณธรรมต่างๆทั้งหมดในพระพุทธศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ภายหลังจากบำเพ็ญตบะจนกิเลส เบาบางไปแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลส ฟูกลับขึ้นมาอีก ต้องตัดโลกียวิสัยตัดเยื่อใยทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องยกใจออกจากกามอันเป็นที่มาของความเสื่อม และจะนำความทุกข์นำกิเลส มาสู่ใจของเราอีก ซึ่งต้องปฏิบัติผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามภูมิชั้นของจิต เลื่อนภูมิจิตของเราให้สูงขึ้นมุ่งหน้าสู่โลกุตตรภูมิ จนกระทั่งหมดกิเลส




        33. อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ ความจริงที่ทำให้บุคคลผู้เห็นเป็นผู้ประเสริฐ เป็นความจริงที่มีอยู่คู่โลกแต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือทั้งรู้และเห็นแล้ว ทรงชี้ให้เราดูพร้อมทั้งสอนให้ปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิเพื่อได้รู้เห็น และหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้เช่นเดียวกับพระองค์

         เห็นอริยสัจ คือตั้งใจปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิต่อไปอีกอย่างยิ่งยวดจนเกิดปัญญาสว่างไสวเห็นอริยสัจ 4 ด้วยธรรมจักษุ รู้แจ้งทุกข์ที่แท้จริงสาเหตุแห่งความทุกข์ วิธีปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์อย่างแท้จริง และภาพของจิตของบุคคลที่หมดกิเลสอย่างสิ้นเชิง



       34. ทำนิพพานให้แจ้ง คือเมื่อเห็นอริยสัจในเบื้องต้นแล้วก็ตั้งใจเจริญภาวนาต่อไป ประคองใจหยุดนิ่งไปเรื่อย ๆ  พิจารณาอริยสัจไปตามลำดับให้ใจละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นจนทำนิพพานให้แจ้งได้ กิเลส ต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ ล่อนหลุดไปจากใจตามลำดับจนหมดกิเลส 

เป็นพระอรหันต์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารได้ในที่สุด