เหลือท่านหนึ่งขุนประจันศึกประชิดไม่ยอมพลีชีวิตกลางสมรพาไพร่พลลงเรือรีบหนีจรจากนครมาหยุดอยู่ในคลองบางช่วยกันสร้างที่อยู่เป็นอู่นอนเรียงสลอนเป็นตัวเรือนเหมือนกันหมดมีกำหนดทรงไทยใสอร่ามคนให้นามหมู่บ้านใหญ่อยู่ในบาง
ขุนประจันศึกประชิดคิดสร้างวัดเพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายในใจตนเคนฆ่าคนล้มตายเป็นหลายพันล้างบาปนั้นให้สิ้นผลกุศลกรรมจึงอุทิศเงินทองที่มีอยู่ขอสร้างวัดเป็นคู่พระศาสนาชื่อวัดพุทธชีที่มีมาเป็นเวลาเกือบร้อยปีแสนดีใจ ทั้งกุฏิโรงธรรมและโรงฉัน หอกลอง หอระฆัง สง่าศรี สมเป็นวัดพุทธชีมีศรีศักดิ์เพื่อเป็นหลักของคนดีที่
ในบาง
สี่สิบเก้าปีผ่านไปหลังสร้างวัดเกิดวิบัติโรคอหิวาต์เข้าในบางคนตายร้างเกือบหมกสิ้นถิ่นพุทธชีต่างคนหนีความตายไม่กลับมาเป็นเวลาสองปีที่หนีไป ศพที่ตายเอาทิ้งไว้ที่ในวัด ถ้าจะนับเป็นร้อยไม่ถอยหลังจนกระทั้งเต็มทั้งวัดวิบัติเป็นมีกลิ่นเหม็นไปทั่วหน้ากลัวจริงบางรายศพห่อผ้าขาวเอามาทิ้งริมตลิ่งแล้วหนีไปนึกใจหายบางรายห่อด้วยเสื่อมัดหัวท้ายเอาทิ้งไว้ตรงกลางวัดทับซ้อนกันบางรายทำแคร่ไม้ไผ่ทุกเรือมาฝังริมท่าแล้วหนีไปเพราะกลัวผีริมนทีวรนุชจระเข้ได้กลิ่นศพอพยพหนีกันมาพาขุดกินจนหมดสิ้นทั้งตัวไม่กลัวใครสุนัขขาหมาก็ชุมเสียงเห่าหอนชั่วคืนนอนเสียงโหยหวนครวญอาลัยพระหนีไปจนหมดสิ้นถิ่นพุทธชีเป็นวัดร้างห่างเหินเหมือนป่าช้าไม่มีใครผ่านมาสักคนเดียวแสนเปล่าเปลี่ยววัดภูตผีไม่มีคนสัปดนยังเรียกว่าวัดภูชี คือ ผีชัดคนถนัดเรียกอย่างนี้จึงเพี้ยนไปเรียกใหม่วัดพุทธชีเท่านี้พอ
สองปีผ่านไปใจเป็นทุกข์หมดความสุขทุกอย่างที่ผ่านมาถึงเวลาหลวงพ่อขำผู้นำวัดรีบกำจัดสิ่งไม่ดีที่มีมาชวนญาติหาไม้ฝืนมาปลงศพกิจกำหนดทำบุญกุศลให้ล้างกระดูกผูกพันอันตรายให้สลายหมดสิ้นถิ่นพุทธชีก็พอดีถึงสมัยกำนันกลิ่น น้ำเพชรคิดสำเร็จสร้างวัดกันเสียใหม่ทำอย่างไรให้หลวงพ่อขำผู้นำวัดเป็นผู้จัดหาที่มีศรีศักดิ์ได้ตั้งหลักข้างในจึงเป็นวัดเรียกถนัดว่าวัดในตั้งแต่นั้นมาชาวประชาเรียกวัดเดิมว่า วัดนอก จึงขอบอกให้ได้รู้ที่ผ่านมา
หลวงพ่อขำเป็นผู้นำได้สร้างวัดกำนันกลิ่นชี้ชัดช่วยส่งเสริมได้เร่งหางบประมาณมาสานเติมชาวบ้านเพิ่มทรัพย์สินโมทนาสาธุการจนเสร็จงานเสร็จการทุกสิ่งสรรค์มีทั้งโบสถ์หลวงพ่อเหมเปรมปรีดา
พ่อท่านข้าวสุกแสนศรัทธาทั่วหน้ากัน ทั้งโรงฉัน โรงธรรม กุฏิมีจนครบขอนอมนพโมทนาสาธุการคนเรียกขานชื่อวัดในแต่นั้นมา
พ่อท่านข้าวสุกแสนศรัทธาทั่วหน้ากัน ทั้งโรงฉัน โรงธรรม กุฏิมีจนครบขอนอมนพโมทนาสาธุการคนเรียกขานชื่อวัดในแต่นั้นมา
เล่าย้อนหลัง ในบางที่ตั้งวัดแต่เดิมชื่อบางจาก ต่อมาในปี ร.ศ. 116 พ.ศ. 2433 ได้มีพระราชกฤษีกาจัดตั้งหมู่บ้าน และมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 9 ว่าด้วยการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจากกฎหมายทั้งสามฉบับมีผลทำให้บางจากเปลี่ยนชื่อเป็น “บางใบไม้” ชื่อวัดจึงเปลี่ยนตามไปด้วยเป็น “วัดบางใบไม้”
พอจะแยกความหมายได้ดังนี้วัด = วัดความดีงาม
บาง = หมู่บ้าน
ใบ = ความร่มเย็นเป็นสุข
ไม้ = ความอุดมสมบูรณ์
หมายถึง หมู่บ้านคนดี ร่มเย็นเป็นสุขอุดมสมบูรณ์
ผู้ตั้งชื่อนี้ คือ นายกลิ่น น้ำเพชร ผู้ใหญ่บ้านคนแรกและได้เป็นกำนันคนแรกได้รับพระราชทินนามเป็น หมื่นโภชนากร น้ำเพชร สมัยเป็นพระภิกษุสอบได้นักธรรมเอกและได้เป็นครูสอนนักธรรมวัดธรรมบูชา เมื่อเป็นกำนันได้ปกครองท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางใบไม้ อำเภอบ้านดอนจังหวัดสุราษฏร์ธานีและได้รับพระราชทานหนังสือกฎหมายตราสามวงจากกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมัยมาตรวจราชการภาคใต้เพื่อใช้พิจารณาคดีโทษที่ยอมความกันได้ส่วนคดีโทษที่ยอมความกันไม่ได้ก็ส่งให้ทางการพิจารณาโทษตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น